วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

Doi suthep in chiangmai





Wat Prathat Doi Suthep

The temple of Wat Phra That Doi Suthep is certainly one of the most important temples in Chiang Mai, as well as one of the most revered among all Thais. The temple is a major pilgrimage destinations during the important Buddhist holidays of Makha Buja and Visak. Its importance, as well as its location, owes much to the legend of its founding.
According to this legend, a Buddha relic, which some say glowed, magically replicated just before it was about to be enshrined in the big chedi at Wat Suan Dok. The "cloned" relic was placed on the back of a sacred white elephant, which was allowed to roam where-ever it wanted.



The elephant eventually climbed to the top of Suthep Mountain, trumpeted three times, turned around three times, knelt down and died. This was taken as a sign that this was the spot where the relic wanted to be, so King Ku Na built the original of the chedi on Doi Suthep at the end of 14th century.



The temple grew and changed in the 600 years since its founding. In particular, it was extensively renovated in the economic "boom" years of the early 1990's. From our admittedly western viewpoint, a lot of the charm has been lost as everything was covered in granite and gold. However, the temple remains an important sight that first-time visitors to Chiang Mai shouldn't miss.

The chedi sits in a rather small courtyard at the very peak of the mountain. The courtyard building sits on a larger plaza containing several buildings as well as a lookout point from which you can see, weather permitting, all of Chiang Mai and the surrounding plain.

Among the buildings on the plaza is a small museum displaying old pieces of temple wares as well as some of the more ancient or unique monetary donations to the temple. Note that before entering the courtyard containing the chedi, you must remove your shoes. You must also be dressed appropriately, although the temple can provide some clothing on loan to cover up your naughty knees and slinky shoulders.

Now for the bad news: To reach the temple itself requires a climb up a naga staircase of 309 steps. For the faint of heart, there's also a funicular cable-car to the top which has just been re-built after several fatal crashes. The fare for the new improved funicular is 20 Baht.

At the base of stairs, where cars and motorcycles park, there is a large market of food stalls, jade factories and endless relentless souvenir sellers.




พระบรมธาตุดอยสุเทพเป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งของเมืองเชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่บนดอยสุเทพ สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐๐ เมตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมือง ห่างจากตัวเมืองเก่าประมาณ ๑๐ กิโลเมตร สามารถมองเห็นจากตัวเมืองได้ชัดเจน และเมื่อขึ้นไปอยู่ที่พระบรมธาตุ ก็จะเห็นตัวเมืองเชียงใหม่ได้ทั้งหมด มีบันไดนาคเจ็ดเศียรทอดจากทางขึ้นไปถึงซุ้มประตูวัด จำนวน ๓๐๐ ขั้น ครูบาศรีวิชัยได้บอกบุญชักชวนชาวเหนือ ให้ช่วยกันสร้างถนนจากเชิงดอยไปจนถึงยอดดอย ณ ที่ตั้งพระบรมธาตุ

ตามตำนานกล่าวว่า เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้เสด็จมายังดอยอุจฉุปัพพต เพื่อฉันภัตตาหาร พร้อมด้วยพระสาวก ณ ที่นี้มีย่าแสะแม่ลูกได้ตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า พระองค์จึงมอบพระเกศาธาตุให้ประดิษฐานไว้ที่ดอยแห่งนี้
ตามประวัติพระเจ้ากือนา กษัตริย์พระองค์ที่ ๘ ของ ราชวงศ์เชียงราย ได้พระบรมสารีริกธาตุส่วนพระเศียร จากพระมหาเถรองค์หนึ่งที่ได้นำมาจากเมืองสุโขทัย ในชั้นต้น พระองค์ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนี้ไว้ที่วัดสวนดอก

ต่อมาปรากฎว่า พระบรมสารีริกธาตุได้แสดงปาฏิหารย์ แยกออกเป็น ๒ องค์ ขนาดเท่าเดิม พระเจ้ากือนา จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวขึ้นบนหลังช้างทรง และตั้งบารมีเสี่ยงช้าง ช้างทรงได้เดินขึ้นไปบนดอยสุเทพ ครั้นถึงบริเวณที่ตั้งวัดพระบรมธาตุ ฯ ปัจจุบัน ช้างทรงนั้นก็กระทืบเท้าส่งเสียงร้องไปทั่วบริเวณ แล้วล้มลง ณ ที่นั้น พระเจ้ากือนา จึงให้สร้างพระบรมสารีริกธาตุขึ้น ณ ที่นั้น เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๒๗ เป็นเจดีย์แบบเชียงแสนผสมลังกา

องค์พระบรมธาตุประดิษฐานอยู่ใต้ดินลึกลงไป ๘ ศอก ดังนั้นจึงห้ามมิให้สตรีเข้าไปภายในฐานเจดีย์ และก่อนที่จะเข้าสู่ภายในบริเวณองค์พระบรมธาตุ ต้องถอดรองเท้าไว้ที่เชิงบันไดเสียก่อน
มีงานนมัสการในวันเพ็ญวิสาขฤกษ์ ในวันวิสาขบูชาของทุกปี โดยชาวเชียงใหม่จะถือคบไฟเดินขึ้นดอย และเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุ ฯ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น